วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554

วิชา ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ                  

จุดประสงค์ของการเรียน
1.             เกิดความรู้ความเข้าใจในแนวคิดเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะได้อย่างกว้างขวาง

2.             สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายสาธารณะและการดำเนินงานของรัฐบาลได้
3.             สามารถวิเคราะห์ได้ว่าใครเป็นผู้กำหนดนโยบายสาธารณะและกำหนดโดยใช้หลักเกณฑ์ใด

4.             สามารถอธิบายขั้นตอน/กระบวนการต่างๆของนโยบายสาธารณะได้
5.             ทำให้ทราบประสิทธิภาพและประสิทธิผลของสถาบันทางการเมืองและรัฐบาล

6.             ทำให้เรียนรู้วิธีการวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล
ความสำคัญในการศึกษานโยบายสาธารณะ
1. พิจารณาจากพัฒนาการในการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์โดยดูจากพาราไดม์ทางรัฐประศาสนศาสตร์ ตามทัศนะของ Nicholas Henry
พาราไดม์ที่ 1

-                   การเมืองและการบริหารแยกออกจากกัน (The Politics / Administration Dichotomy)
-                   ฝ่ายการเมือง : กำหนดนโยบาย
-                   ฝ่ายบริหาร : นำนโยบายไปปฏิบัติให้สำเร็จ
พาราไดม์ที่ 2
-                   หลักการบริหาร (The Principles of Administration)
-                   POSDCORB
พาราไดม์ที่ 3
-                   รัฐประศาสนศาสตร์คือรัฐศาสตร์ (การบริหารคือการเมือง) (Public Administration as Political Science)
-                   ไม่สามารถแยกการเมืองและ    การบริหารออกจากกันได้โดยเด็ดขาด
พาราไดม์ที่ 4
-                   รัฐประศาสนศาสตร์คือการจัดการ
-                   ( Public Administration as Management)
พาราไดม์ที่ 5
-                   รัฐประศาสนศาสตร์คือรัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration as Public Administration) => New Public Administration
-                   Public Policy เป็นสาขาวิชาที่ได้รับความสนใจ
ความหมาย
-                   กิจกรรม/แนวทาง/หนทางในการกระทำของรัฐบาล
-                   แนวทางเลือกตัดสินใจของรัฐบาล
สาเหตุที่ต้องศึกษานโยบายสาธารณะ

-                   เพื่อสร้างความเข้าใจแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Understanding)
-                   เพื่อเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา (Problem Solving)
-                   เพื่อเสนอแนะนโยบาย (Policy Recommendations)
ปัจจัยและองค์ประกอบของนโยบาย
-                   ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐาน
-                   ปัจจัยที่เป็นสภาพแวดล้อม
ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐาน
-                   ผลประโยชน์
-                   ผู้กำหนดนโยบาย
-                   ข้อมูลเอกสารต่างๆ
ปัจจัยที่เป็นสภาพแวดล้อม
-                   ปัจจัยทางเศรษฐกิจ

-                   ปัจจัยทางการเมือง

-                   ปัจจัยทางสังคม

-                   ปัจจัยทางภูมิศาสตร์/ประวัติศาสตร์

-                   ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี
ประเภทของนโยบายสาธารณะ
-                   จำแนกตามเนื้อหาสาระ
-                   จำแนกตามมิติเวลา
-                   จำแนกตามสถาบัน
-                   จำแนกตามการดำเนินงานของรัฐบาล
-                   จำแนกในเชิงวิเคราะห์
ผู้กำหนดนโยบาย
Official Policy – makers
-                   primary policy – makers
-                   supplementary policy – makers
Unofficial Policy – makers
แนวทางการศึกษานโยบายสาธารณะ
Descriptive Approach
Prescriptive Approach
Descriptive Approach
knowledge of policy and the policy process.
ศึกษาเกี่ยวกับ
policy content
policy process
policy determinants & policy outputs
policy outcomes & impacts
Prescriptive Approach
knowledge in policy process
how policies should be made
ศึกษาเกี่ยวกับ
information for policy making
policy advocacy

Models for Policy Analysis

Thomas R. Dye         

เป็นตัวแบบที่ง่ายและชัดเจนในการทำความเข้าใจการเมืองและนโยบายสาธารณะ
Models for Policy Analysis
ช่วยให้เห็นฝ่ายต่างๆที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมือง
ง่ายต่อการทำความเข้าใจนโยบายสาธารณะ
ช่วยให้เห็นฝ่ายต่างๆที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมือง
ง่ายต่อการทำความเข้าใจนโยบายสาธารณะ
ให้คำอธิบายเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะได้ชัดเจน
ชี้ให้เห็นปัญหาสำคัญของนโยบายสาธารณะ
Institutional Model
การนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation)
-                   สมรรถนะของหน่วยงานที่รับผิดชอบนโยบาย
การประเมินผลนโยบาย (Policy Evaluation)
-                   ตรวจสอบการดำเนินนโยบาย
-                   เป็นข้อมูลย้อนกลับ   
-                   เป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจ
การคงสภาพ การทดแทน และการสิ้นสุดนโยบาย (Policy maintenance , succession and termination)
Management Information System

ผศ. ดร. ชนวัฒน์ ศรีสอ้าน
คณบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
ศูนย์ สาทรธานี, . รังสิต

Thomas  หรือ  Tom Peters  ที่ปรึกษาด้านการจัดการที่มีชื่อเสียงชาวสหรัฐอเมริกากล่าว่า  ผู้บริหารที่เก่งยังทำผิดอยู่บ่อยครั้ง  การตัดสินใจที่ดีจะต้องอาศัยส่วนประกอบหลายอย่าง  เช่น  การฝึกฝน  ประสบการณ์  และวิสัยทัศน์ของผู้ตัดสินใจ  ตลอดจนข้อมูลที่นำมาประกอบการตัดสินใจในสถานการณ์นั้น ๆ
No information or not enough information for making decision
ความสำคัญ
การตัดสินใจของผู้บริหารมีผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงาน  ความมั่นคง  และพัฒนาการขององค์การ  เนื่องจากผู้บริหารจะต้องตัดสินใจจัดสรรทรัพยากรขององค์การที่มีอยู่อย่างจำกัด  เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้งาน  ตลอดจนต้องตัดสินใจแก้ปัญหาความขัดแย้งทั้งภายในและภายนอกองค์การ  ซึ่งเราจะเห็นความสำคัญได้จากงานวิจัยด้านการจัดการตั้งแต่ปี  1950  เป็นต้นมาที่ให้ความสนใจศึกษาเกี่ยวกับการตัดสินใจของผู้บริหารกับการดำเนินงานหรือการดำรงอยู่ขององค์การ
ทฤษฎีการจัดการกับการตัดสินใจ
Henri Fayol  ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส  ได้กล่าวถึงหน้าที่หลักในการจัดการ  (management functions)  ไว้  5  ประการด้วยกันคือการวางแผน  (planning)  การจัดองค์การ  (organizing)  การประสานงาน  (coordinating)  การตัดสินใจ  (deciding)  และการควบคุม  (controlling)
ที่ Mintzberg  (.. 1971)  ได้กล่าวถึงบทบาททางการจัดการ  (manegerial roles)  ว่าเป็นกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผู้จัดการสมควรจะกระทำขณะปฏิบัติหน้าที่ภายในองค์การ  โดยมีกิจกรรมเหล่านี้สามารถถูกจัดออกเป็น  3  กลุ่มคือ  บทบาทระหว่างบุคคล  (interpersonal roles)  บทบาททางสารสนเทศ  (informational roles)  และบทบาททางการตัดสินใจ  (decisional roles)
กระบวนการในการตัดสินใจ
ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสื่อสารและโทรคมนาคมทำให้ข้อมูลข่าวสารสามารถเดินทางได้อย่างคล่องตัวและเป็นอิสระมากขึ้น  ส่งผลให้องค์การต่าง ๆ สามารถรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารและข้อสนเทศได้ในระยะเวลาที่สั้นลง  โดยข้อมูลมีความชัดเจน  ถูกต้อง  และสะดวกขึ้นด้วยเหตุนี้  ทำให้ธุรกิจในปัจจุบันมีความคล่องตัวในการดำเนินงานสูงขึ้นจนหลายคนถึงกับกล่าวว่าโลกธุรกิจในปัจจุบันหมุนเร็วกว่าโลกธุรกิจในอดีตมาก  ทำให้การตัดสินใจในโอกาสหรือปัญหาทางธุรกิจที่เกิดขึ้นจะต้องการทำภายใต้ข้อจำกัดทางสารสนเทศภายในระยะเวลาที่เหมาะสม  มีหลายครั้งที่ผู้บริหารจะต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็วภายใต้ความกดดันของสถานการณ์  เช่น  การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน  การนัดหยุดงาน  หรือการต่อต้านจากสังคม  เป็นต้น  จึงนับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้บริหารที่จะประสบความสำเร็จในอนาคตที่จะต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม  ตลอดจนต้องพยายามฝึกฝนตนเองโดยพัฒนาทักษะและสั่งสมประสบการณ์ในการตัดสินใจ  เพื่อที่จะสามารถวิเคราะห์และตัดสินใจเลือกทางเลือกต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ  มีประสิทธิภาพ  และสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
ระดับของการตัดสินใจภายในองค์การ
ปกติเราสามารถแบ่งระดับชั้นของผู้บริหาร  (management levels)  ในลักษณะเป็นลำดับขั้น  (hierachy)  ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด  (pyramid)  ตามหลักการบริหารที่ใช้กันอยู่ทั่วไปซึ่งสามารถประยุกต์กับการจำแนกระดับของการตัดสินใจของผู้บริหารภายในองค์การ  (levels of decision making)  ได้เป็น  3 ระดับดังต่อไปนี้

ระดับ 1.                การตัดสินใจระดับกลยุทธ์  (strategic decision making)  เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงในองค์การ  ซึ่งจะให้ความสนใจต่ออนาคตหรือสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น  อันได้แก่  การสร้างวิสัยทัศน์องค์การ  การกำหนดนโยบายและเป้าหมายระยะยาว  การลงทุนในธุรกิจใหม่  การขยายโรงงาน  เป็นต้น  การตัดสินใจระดับกลยุทธ์มักจะเกี่ยวข้องกับความไม่แน่นอนของสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น  ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลจากทั้งภายนอกและภายในองค์การ  ตลอดจนประสบการณ์ของผู้บริหารประกอบการพิจารณา
กับการจัดการ  เพื่อให้งานต่าง ๆ เป็นไปตามนโยบายของผู้บริหารระดับสูง  เช่น  การกำหนดยุทธวิธีทางการตลาด  การตัดสินใจในแผนการเงินระยะกลาง  หรือการแก้ไขปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหวัง
ระดับ 2.                การตัดสินใจระดับยุทธวิธี  (tactical decision making)  เป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับกลาง  โดยที่การตัดสินใจในระดับนี้มักจะเกี่ยวข้องเป็นต้น

ระดับ 3.                การตัดสินใจระดับปฏิบัติการ  (operational decision making)  หัวหน้างานระดับต้นมักจะต้องเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในระดับนี้  ซึ่งมักจะเป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานเฉพาะด้านที่มักจะเป็นงานประจำที่มีขั้นตอนซ้ำ ๆ และได้รับการกำหนดไว้เป็นมาตรฐาน  โดยที่หัวหน้างานจะพยายามควบคุมให้งานดำเนินไปตามแผนงานที่วางไว้  เช่น  การมอบหมายงานให้พนักงานแต่ละคน  การวางแผนควบคุมการผลิตระยะสั้น  การวางแผนเบิกจ่ายวัสดุ  และการดูแลยอดขายประจำวัน  เป็นต้น

ระบบสารสนเทศกับการจัดการในระดับต่างๆ

     เราจะเห็นว่าผู้จัดการในแต่ละระดับจะต้องตัดสินใจในปัญหาที่แตกต่างกัน  โดยผู้บริหารระดับสูงต้องตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตขององค์การ  ซึ่งยากต่อการพยากรณ์และทำความเข้าใจ  ผู้จัดการระดับกลางจะเป็นผู้ถ่ายทอดความคิดและนโยบายของผู้บริหารระดับสูงลงสู่ระดับปฏิบัติการ  โดยจัดทำแผนระยะยาวและควบคุมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาดำเนินงานตามแนวทางที่กำหนด  ตลอดจนช่วยแก้ปัญหาที่ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่สามารถกระทำได้  ขณะที่หัวหน้างานระดับปฏิบัติการจะตัดสินใจในปัญหาประจำวันของหน่วยงาน  ซึ่งเกี่ยวข้องกับปัจจัยภายนอกไม่มากนัก  และมีขั้นตอนการตัดสินใจที่ชัดเจนและไม่ซับซ้อนอย่างไรก็ตาม  การตัดสินใจของ